นิวเมติกกระบอกลมแบบ 2 ทาง คือ อะไร การทำงานเป็นยังไง มีข้อดี – ข้อเสียอย่างไร 

นิวเมติก

กระบอกลมนิวเมติก 2 ทาง คือ กระบอกลมที่ใช้แรงดันอากาศแบบ 2 ทางในการเคลื่อนที่สลับกันไปมา โดยมาตรฐานเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากง่ายต่อการใช้งานและสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและลักษณะการใช้งานได้ สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักวันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน รวมถึงข้อดี – ข้อเสียของกระบอกลมแบบนิวเมติกว่าเป็นยังไงเพิ่มเติม 

นิวเมติกกระบอกลม 2 ทางมีหลักการทำงานอย่างไร 

สำหรับหลักการทำงานของกระบอกลมนิวเมติก 2 ทางนั้นประกอบด้วยการทำงานแบบยืดและหดของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือมีเคลื่อนที่โดยอาศัยความกดอากาศ หากด้านใดด้านหนึ่งมีความกดอากาศสูงจะสามารถขับเคลื่อนลูกสูบไปยังด้านที่มีความกดอากาศต่ำกว่าได้ โดยการทำงานจะอาศัยการควบคุมจากวาล์วควบคุมทิศทาง  

ข้อดีของการบอกลมแบบ 2 ทาง 

สำหรับข้อดีของกระบอกนิวเมติกแบบ 2 ทางที่ถูกนำมาใช้งานค่อนข้างแพร่หลายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้ 

1. แรงดันมีความคงที่และสม่ำเสมอ  

เมื่อเทียบแรงดันอากาศที่ได้จากกระบอกลมนิวเมติกแบบ 2 ทางกับกระบอกสูบแบบทางเดียว จะเห็นได้ว่ามีความคงที่กว่าค่อนข้างมาก 

2 รองรับโหลดได้เยอะ 

หากเทียบภาระโหลดที่รับได้ของกระบอกลมแบบ 2 ทางพบว่ารับได้ยืดหยุ่นและน้ำหนักมากกว่าประเภททางเดียว 

3. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงและมีระยะชักยาว  

นอกจากนั้น ความยาวระยะชัดยังสามารถออกแบบให้ไม่มีข้อจำกัดได้อีกด้วย 

4. สามารถจ่ายแรงดันอากาศแรงดันสูงได้ทั้ง 2 ทิศทาง 

ข้อเสีย 

สำหรับข้อเสียหลัก ๆ ของกระบอกลมนิวเมติกแบบ 2 ทางประกอบไปด้วย 

  • ไม่สามารถสำรองแรงดันอากาศได้ นั่นหมายความว่าเวลาที่ระบบการทำงานเกิดข้อผิดพลาดจะทำให้งานเกิดการหยุดชะงัก 
  • จำเป็นต้องใช้อากาศในการอัด เพื่อกระตุ้นให้ลูกสูบทำงาน 
  • Piston Rod มีความเสี่ยงต่อการเกิดการโก่งงอมากกว่าระบอบลมประเภทอื่น ๆ เวลาใช้งานจึงจำเป็นต้องอาศัยการคำนวณอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 

สรุปได้ว่ากระบอกลมนิวเมติกแบบ 2 ทางนั้นมีหลักในการทำงานแบบ 2 ทาง โดยอาศัยความกดอากาศในการเคลื่อนที่ลูกสูบ ข้อดี คือ แรงดันอากาศที่ได้จากทั้งสองฝั่งเป็นอากาศแรงดันสูงและสามารถรองรับภาระโหลดได้เยอะพร้อม ๆ กับแรงดันอากาศที่มีความคงที่ แต่อย่างไรก็ตามแม้จใช้กันอย่างแพร่หลายและมีข้อดีหลายประการแต่ก็มีข้อเสียที่ต้องพึงระวัง ไม่ว่าจะเป็นไม่สามารถสำรองแรงดันอากาศหรือจำเป็นต้องใช้อากาศในการอัดเพื่อกระตุ้น และที่สำคัญไปมากกว่านั้น คือ ความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อลูกสูบที่อาจมีมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ ดังนั้นหากต้องการใช้งานควรควรศึกษาทั้งสภาพแวดล้อม น้ำหนักของชิ้นงาน และองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างรอบคอบ 

Jessie Fisher

Jessie Fisher